รายละเอียด
รากปลาไหลเผือก (Tongkat Ali)
ทะเบียน 1-10-0302/1-003
หมดอายุ : 10/2022
ส่วนประกอบสำคัญใน 1 แคปซูล : รากปลาไหลเผือก 400 มิลลิกรัม, ขนาดบรรจุ 100 แคปซูล
ขนาดรับประทาน : ครั้งละ 2 แคปซูล, ก่อนอาหาร เช้า – เย็น (ไม่ควรรับประทานเกินวันละ 4 แคปซูล)
Suggested use : Take 2 Capsules, 2 time/day, Before meal
ชาวไทยมุสลิมภาคใต้จะเรียกปลาไหลเผือก ว่า ตูกะอาลี หรือตุงกัตอาลี (Tongkat Ali) คือ สมุนไพรที่ช่วยกระตุ้นและเพิ่มสมรรถภาพทางเพศชายด้วยวิธีธรรมชาติอย่างได้ผล เนื่องจาก รากปลาไหลเผือก ประกอบด้วยสารที่ออกฤทธิ์เพิ่มสมรรถภาพทางเพศชายโดยตรงในปริมาณที่สูง ซึ่งสูตรลับนี้ค้นพบโดยนักวิจัยชาวสหรัฐอเมริกาคือ นายแพทย์ เรย์ ซาฮีเลี่ยน (Dr.Ray Sahelian MD.) ผู้เชี่ยวชาญเรื่องสมุนไพรที่ช่วยส่งเสริมสมรรถภาพทางเพศตลอดระยะเวลากว่า 30 ปี ตงกัตอาลี เป็นสมุนไพรที่หลายประเทศให้การยอมรับมานาน โดยเฉพาะประเทศมาเลเซีย รัฐบาลมาเลเซียส่งเสริมให้เป็นสมุนไพรส่งออกจนมีชื่อเสียงของประเทศ สมุนไพรชนิดนี้พบมากทางภาคใต้ของไทย ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปินส์
สรรพคุณของสมุนไพร รากปลาไหลเผือก 100%
- ออกฤทธิ์กระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone)
- ช่วยเพิ่มจำนวนตัวสเปิร์มในน้ำอสุจิ บำรุงสเปิร์มและไขกระดูก
- ชะลอการหลั่ง แก้ปัญหาอาการหลั่งเร็ว
- บำรุงกำลัง บำรุงร่างกายให้แข็งแรง
- เสริมสร้างฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth hormone) ซึ่งจะช่วยในการชะลอความเสื่อมหรือ ชะลอความชราให้กับร่างกาย
- เสริมสมรรถภาพทางเพศให้สมบูรณ์ โดยช่วยให้อวัยวะเพศแข็งตัวดีขึ้น ทำให้เกิดการตื่นตัวทางเพศ ทำให้มีความคงทนในการมีเพศสัมพันธ์ได้นานขึ้น
- เพิ่มประสิทธิภาพการไหลเวียนเลือด
- ป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูง,โรคเบาหวาน,ลดน้ำตาลในเลือด, บำรุงไต
- ลดไข้ ลดอาการเมื่อยล้า เพิ่มพลังงาน และเสริมสร้างกล้ามเนื้อ
- ประกอบด้วย Superoxide dimutase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระ
- ลดภาวะวัยทองในผู้ชาย และหญิง, แก้ปวดมดลูกและตกขาวในผู้หญิง
- มีคุณสมบัติในการต่อต้านเซลล์มะเร็งปอดและมะเร็งเต้านมได้ มีฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรีย
- ช่วยบรรเทาอาการปวดหลัง ปวดเอว แก้ปวดกระดูก
- ใช้ในการรักษาอาการข้อเสื่อมรูมาติก, เก๊าต์ และอื่นๆ เช่น อาการปวดข้อในหญิงวัยหมดประจำเดือน
ข้อควรระวังในการใช้
- รับประทานตามปริมาณที่แนะนำไม่มีผลข้างเคียง
- สำหรับบางคนเมื่อรับประทานอาจจะมีอาการปวดเมื่อย วิงเวียน แก้ไขโดยการดื่มน้ำเยอะๆ จนกว่าอาการจะหายไป ทางที่ดีควรเริ่มรับประทานในปริมาณน้อยๆ ก่อนแล้วค่อยๆ เพิ่มปริมาณตามคำแนะนำ
- การใช้เป็นยาเพิ่มสมรรถภาพทางเพศควรใช้และหยุด ในระยะเวลาเท่าๆ กัน เช่น วันเว้นวัน , การใช้ในปริมาณสูงและติดต่อกันนาน อาจเกิดผลข้างเคียงต่อฮอร์โมนแอนโดรเจน คือ อาจทำให้ต่อมลูกหมากโตและทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ
การสร้างฮอร์โมนเพศชาย มาจากต่อมไฮโปทาลามัสจะทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน จีเอ็นอาร์เอช (GNRH) ไปกระตุ้นลูกอัณฑะให้สร้างฮอร์โมนเพศชายขึ้น คือ Testosterone จะมีระดับสูงสุดในช่วงตอนเช้าประมาณ 5-7 โมงเช้า Testosterone มีผลกับการพัฒนาลักษณะรูปร่างของเพศชาย ช่วยในเรื่องความคงทนของกล้ามเนื้อและ รักษาสภาพหรือเพิ่มมวลของกล้ามเนื้อ อารมณ์ทางเพศ และสมรรถภาพทางเพศ ฮอร์โมนตัวนี้ยังทำให้คุณภาพของการนอนหลับดีขึ้น เพิ่มพลังงานของจิตใจและร่างกาย และยังสนับสนุนการพัฒนาทางอารมณ์
ฮอร์โมนเพศชายยังมีบทบาทในการสังเคราะห์โปรตีน ซึ่งมีผลต่อกิจกรรมในการผลิตพลังงานของร่างกาย เช่น การผลิตเม็ดเลือดแดงในไขกระดูก การจัดรูปร่างของกระดูก การเผาผลาญของไขมันและแป้ง และการเจริญเติบโตของต่อมลูกหมาก
เทสทอสเตอร์โรนจะมีระดับสูงสุดเมื่ออายุราวๆ 20 ปี จากนั้นก็จะค่อย ๆ ลดลงอย่างช้า ๆ โดยเฉลี่ยปีละ 2% เมื่ออายุมากขึ้น จะทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น กล้ามเนื้อลีบเล็ก อ้วนลงพุง ผมบางลง ความรู้สึกและความต้องการทางเพศลดลง เกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ อวัยวะเพศไม่แข็งตัวหรือแข็งตัวได้ไม่นาน มีผลต่อการดำเนินชีวิตและสภาพทางจิตใจ ทำให้ขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง ซึมเศร้า ห่อเหี่ยว การเพิ่มฮอร์โมนเพศชายโดยวิธีธรรมชาติก็จะทำให้สามารถรักษาระดับฮอร์โมนเพศให้อยู่ในระดับปกติได้
ภาวะการถดถอยของฮอร์โมนเทสโทสเตอรอน การเข้าสู่วันทองของผู้ชายเกิดจากการค่อยๆ สูญเสียฮอร์โมนทางเพศ เทสโทสเตอโรน โดยจะเกิดหลังช่วงอายุ 35-40 ปีเป็นต้นไป โดยจะมีอาการในลักษณะต่างๆ ดังนี้เช่น อาการหงุดหงิดง่าย นอนไม่ค่อยหลับ ร้อนวูบวาบ เหงื่อออกผิดปกติ มีอาการอ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง ไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้น รวมไปถึงการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และจากการวิจัยพบว่า ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน เป็นฮอร์โมนที่สำคัญต่อการทำงานในทุกส่วนของร่างกาย การมีระดับฮอร์โมนที่ต่ำจะก่อให้เกิดภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เป็นต้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก :หน่วยปฏิบัติการวิจัยเคมีสารสนเทศ, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, http://thrai.sci.ku.ac.th/node/909
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์